The Founder : อยากรวยต้องเหนือเกม..ใครคือผู้ก่อตั้ง McDonald กันแน่? 

0
1018
The Founder
ภาพจากภาพยนตร์เรื่อง The Founder

บทวิเคราะห์จากหนังเรื่อง The Founder

คำเตือน :

1.สปอยล์ละเอียดยิบ แต่ถ้าไม่คิดอะไรมากก็อ่านโลดครับ
2.มุมมองที่ผมเขียน เป็นความคิดเห็นตามเนื้อหาในหนัง
ซึ่งเราก็ไม่รู้หรอกว่าชีวิตจริงแต่ละคนทำอะไรมากน้อยแค่ไหนครับ ดังนั้นอย่านำไปเทียบเคียงกับเรื่องจริงครับ

เอาล่ะ เริ่มทีละประเด็นเลยดีกว่า

1.คิดว่า Ray Kroc ควรได้ชื่อว่า Founder ของ Mc Donald หรือไม่?

ในความคิดเห็นส่วนตัวของผมน
พี่น้องดิ๊กกับแมคเป็นผู้สร้างแมคโดนัลด์เพียงสาขาแรก
แต่ผู้ก่อตั้งแฟรนไชส์แมคโดนัลด์ คือ เรย์ คร็อก เพราะเป็นคนเชิญชวนให้ดิ๊กกับแมค ขายแฟรนไชส์
บุกเบิกสาขาใหม่ๆ ติดต่อหาเจ้าของสาขาใหม่ๆ

เรียกได้ว่าถ้าไม่มีเรย์แล้ว แมคโดนัลด์คงเป็นได้ร้านค้าที่ขายของได้ไว เพียงสาขาเดียว เจ้าเดียว
และไม่มีสาขาทั่วโลกเหมือนทุกวันนี้

ดังนั้นถ้าถามว่าเค้าคู่ควรกับคำว่า Founder มั้ย
สำหรับผม ถือว่าคู่ควรนะ
(แต่ผมไม่ได้บอกว่าวิธีการที่ทำมันถูกนะ)

2.ผู้คิดค้น vs ผู้ขยายกิจการ

ดิ๊กกับแมค เป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมร้านอาหาร
ไม่ต้องรอ ไม่ต้องมีเมนูเยอะๆ
เน้นเร็ว และประหยัดต้นทุนค่าพนักงานเสิร์ฟด้วย

แต่เค้ามีความสามารถดูแลแค่สาขาเดียว สาขาที่เปิดเพิ่ม ควบคุมคุณภาพไม่ได้

ผิดกับเรย์ซึ่งมีวิสัยทัศน์ (ที่ไปไม่รอดในช่วงแรก ถ้าไม่เจอคนแนะนำที่ธนาคาร)
เรย์ผู้ทะเยอทะยาน และยังไงก็ไปรอดแน่

ขาดใครไป ก็ไม่ทำให้แมคโดนัลด์เกิด
แต่ผู้คิดค้นที่ไม่คิดจะเผยแพร่สินค้า ย่อมไม่เป็นที่รู้จักของผู้คนในวงกว้าง

ดิ๊กกับแมคคือผู้คิดค้นนวัตกรรม
เรย์คือผู้ทำให้นวัตกรรมนั้นเป็นที่รู้จักและมีสาขาทั่วโลก

3.อำนาจของทุน

เมื่อเรย์ขาดทุนในช่วงแรก
เรย์ไม่มีอำนาจต่อรองใดๆเลย กับพี่น้องแมคโดนัลด์

แต่เมื่อเรย์มีทุนหนากว่า
แม้จะทำการบีบดิ๊กกับแมคก็ทำได้

และประโยคที่เจ็บสุดคือ

“ฉันมันระดับชาติ พวกนายมันแค่ local (บ้านๆ)”

คือโคตรเจ็บนะ คิดค้นมาเองกับมือ
แต่โดนขโมยหน้าด้านๆ
อยากได้คืนเหรอ ก็ไปฟ้องเอาสิ
แต่เรย์มีเงินจ่ายค่าทนายเก่งๆ ได้สบายๆ
สองพี่น้องทำอะไรไม่ได้หรอก สู้ไปก็ไม่คุ้ม

สุดท้ายจึงยอมขายกิจการดีกว่า

4.การพัฒนาธุรกิจ…ต้องทำต่อไปเรื่อยๆ 

กรณีมิลค์เชค เป็นอะไรที่น่าสนใจมาก
ผู้คิดค้นอย่างแมคและดิ๊ก ที่คิดทุกอย่างเพื่อความรวดเร็ว 

หยุดการพัฒนาเพื่อการลดต้นทุนของเครือข่ายแฟรนไชส์และลดเวลาการทำมิลค์เชคแล้ว

ดังนั้นผู้ที่เห็นโอกาสของการลดเวลาอย่างเรย์ จึงเลือกที่จะไปต่อ และกำจัดผู้คิดค้นแมคโดนัลด์สาขาแรกซะ

แม้ว่าท้ายที่สุดแล้ว ในบทสรุปจะบอกว่ากลับมาใช้มิลค์เชคที่ใช้วัตถุดิบดั้งเดิม 

แต่ก็เห็นได้ว่าเรย์มีหัวก้าวหน้าและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าอยู่เสมอ ถ้ามันไม่ดีก็เปลี่ยนกลับทีหลังได้

ทั้งนี้ในมุมของดิ๊กและแมคนั้น ผมเข้าใจได้ว่าทั้งสองต้องการจะทำธุรกิจตามที่ตัวเองต้องการ

วัตถุดิบต้องดีเพื่อลูกค้า ไม่ได้คิดหาผลกำไรเป็นหลัก 

ดูได้จากการคิดเปอร์เซ็นจากคนซื้อแฟรนไชส์ก็แบ่งไว้ไม่เยอะและให้เรย์ได้ส่วนแบ่งไม่เยอะเช่นกัน

ต่เรย์มีหัวธุรกิจเต็มที่ ทุกอย่างคือกำไร
และเมื่อมีโอกาสได้มากกว่าก็พร้อมจะคว้าไว้เสมอ

ทั้งนี้จุดสำคัญจุดหนึ่งจากที่กล่าวมาคือ
การขอต่อรองระหว่างเรย์กับสองพี่น้อง
ที่สองพี่น้องไม่ยอมอ่อนข้อให้เรย์คิดเงินจากคนซื้อแฟรนไชส์เพิ่ม
ซึ่งทำให้เรย์อยู่ไม่ได้ และขาดทุน

เขาจึงต้องดิ้นรนทุกหนทาง
และหากำไรได้จากช่องทางอื่น
อย่างการหาผลประโยชน์จากค่าเช่าที่ดินแทน
ซึ่งพอเค้ารวยแล้ว เค้าก็ไม่คิดจะกลับไปคุยกับสองพี่น้องอีกแล้ว และใช้วิธีอื่นแทน

เป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่ทำให้เราเห็นว่าคู่ค้าของเรา
ก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน เราอยู่ได้ เขาก็ต้องอยู่ได้เช่นกัน

จะเห็นว่าแม้จะเป็นหนังอ้างอิงจากเรื่องราวในอดีต
แต่หลายประเด็นก็ยังสามารถนำมาใช้ได้ในปัจจุบันครับ

Leave a Reply