“สารคดีตีแผ่ด้านมืดของวงไอดอลใสๆ อย่างยอดเยี่ยม”
ส่วนตัวแล้วเคยเขียนมุมมองทางธุรกิจเกี่ยวกับ BNK48 ไว้ แต่ตอนนั้นไม่ได้บอกว่า จริงๆแล้วผมไม่ค่อยชอบโมเดลธุรกิจของวงนี้เท่าไหร่นัก คือ ผมว่ามันเหมือนการเอาเด็กมาทำ Reality บนโลกแห่งความจริง ด้วยกฎที่ค่อนข้างปฏิบัติตามได้ยาก อย่างการถ่ายรูป หรือ มีแฟน เหมือนเป็นกฎที่พร้อมจะให้แหก (ไม่ได้หมายถึงไม่ชอบน้องๆนะครับ)
ตอนแรกเลยเฉยๆเมื่อรู้ว่าจะทำเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กๆวงนี้เป็นหนัง …แต่พอได้เห็นด้วยตัวอย่างแล้ว มันกลับมีมุมมองที่เราสัมผัสได้ถึงความดาร์คในแบบที่เราคิดเกี่ยวกับวงนี้ พอได้ดูก็ถือว่าไม่ได้ผิดคาดเท่าไหร่นักที่มันดาร์คได้ใจจริงๆ แถมยังดาร์คกว่าที่เราคิดไปหลายสเตปมาก เมื่อบวกกับมุมมองของผู้กำกับ และการตัดต่อ นี่เป็นสารคดีที่โคตรเรียล โคตรพีค
การตัดสลับบทสัมภาษณ์ทำได้อย่างมีชั้นเชิง ทั้งที่จริงๆแล้วตัวตั้งต้นอาจจะเป็นคำถามธรรมดา แต่กลับทำให้หนังแรง และเดือดมากๆได้ เป็นหนังที่สมควรจะใช้ชื่อ Girls don’t Cry จริงๆ เราดูแล้วยังรู้สึกหนักอึ้งกับบางประเด็น ซึ่งตัวเมมเบอร์ของวงเอง น่าจะรู้สึกหนักยิ่งกว่านี้
ส่วนตัวแล้วไม่โอตะ โอชิ ใครเป็นพิเศษ เลยรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้สมบูรณ์ในฐานะหนังมากๆ แต่ถ้าใครลุ้นอยากเห็นน้องๆคนไหนมากหน่อย ก็อาจจะผิดหวังได้ เพราะมันเกลี่ยด้วยเนื้อหาและประเด็นมากกว่าชื่อเสียงของเมมเบอร์
และถ้าใครคิดว่าหนังเรื่องนี้จะขายไอดอลใสๆอย่าง BNK48 คงต้องบอกว่าคิดผิด เพราะหนังเรื่องนี้ดาร์ค และมีประเด็นที่สะท้อนสังคมหลายอย่างมากๆ ผ่านตัวน้องๆเมมเบอร์วง BNK48 และเนื่องจากการดำเนินเรื่องเป็นในรูปแบบสารคดีและบทสัมภาษณ์ ใครไม่ชินกับแนวนี้น่าจะมองว่าน่าเบื่อแน่ๆ แต่ถ้าไปดูในฐานะสารคดี นี่เป็นสารคดีของวงไอดอลเกิร์ลกรุ๊ปที่น่าสนใจมากๆครับ
สำหรับใครที่อยากอ่านบทวิเคราะห์ สามารถคลิกได้ที่นี่ครับ
บทวิเคราะห์ BNK48 Girls Don’t Cry บาดแผลภายใต้รอยยิ้มของไอดอล